ใบงานบทที่ 3 ครั้งที่ 2
เรื่อง ทรัพยากรสารสนเทศ
********************
ชื่อ – นามสกุล : นางสาวปานทิพา พรมลอย
รหัสประจำตัวนักศึกษา : 6506110012
👉👀ค้นหาหนังสือต่อไปนี้
1. อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical dictionaries)
อักขรานุกรมชีวประวัติ เป็นหนังสือที่รวบรวมชีวประวัติของบุคคลสำคัญ จัดเรียงชื่อเจ้าของ
ชีวประวัติตามลำดับอักษรสำหรับต่างประเทศ จัดเรียงตามลำดับนามสกุลให้รายละเอียดเกี่ยวกับวัน ปีเกิดปีตาย ภูมิลำเนา การศึกษา อาชีพ สถานภาพ ครอบครัว หน้าที่การงาน และผลงาน
ชื่อหนังสือ 👉ชีวประวัติ กวีไทย
ชื่อผู้แต่ง 👉ประพัฒน์ ตรีณรงค์
สำนักพิมพ์ 👉คลังวิทยา
แก้ไขล่าสุด 👉8 ธันวาคม 2564
2. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์(Geographical Resources)
หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ คือ หนังสืออ้างอิงที่เป็นแหล่งข้อมูลให้ข้อเท็จจริงด้านภูมิศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่ ที่ตั้งของทวีป ประเทศ เมือง มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ภูเขา แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ ฯลฯ เป็นต้น และยังเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างสังคมมนุษย์ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคและสถานที่ต่าง ๆ ของโลก หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะแผนที่ มีบทบาทสำคัญในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ และเป็นเครื่องมือสำคัญในชีวิตประจำวัน สามารถใช้เป็น คู่มือในการตอบคำถามทางด้านวิชาการ ด้านการวางแผน รวมถึงคำถามเกี่ยวกับการเดินทางอีกด้วย หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ มีประโยชน์ช่วยในการตอบคำถามเกี่ยวกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้ง ลักษณะ ระยะทาง พร้อม ทั้งมีภาพและแผนที่ประกอบไว้ให้อย่างชัดเจน
ชื่อหนังสือ 👉ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประเทศจีน (中国地理常识) ฉบับ จีน-ไทย
ผู้จัดพิมพ์ 👉Higher Education Press (高等教育出版社)
ISBN 👉978-7-04-020722-4
พิมพ์ครั้งแรก 👉กุมภาพันธ์ 2550
3. นามานุกรม นามานุกรม คือ หนังสือรวบรวมรายชื่อของบุคคล สถาบัน สมาคม หน่วยงานต่างๆ เรียงตามลำดับอักษรของชื่อนั้นๆ หรือจัดเรียงลำดับรายชื่อเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งให้เรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญองชื่อนั้น พร้อมทั้งตำบลที่อยู่หรือที่ตั้งของชื่อนั้นๆ
ชื่อหนังสือ 👉นามานุกรม อสุรกายเล่ม 2
ครั้งที่พิมพ์ 👉พิมพ์ครั้งที่ 1
ปีที่พิมพ์ 👉พ.ศ.2529
สำนักพิมพ์ 👉ประเสริฐวาทิน
4. หนังสือคู่มือ (handbooks)
หนังสือคู่มือ หมายถึง หนังสือรวมความรู้เบ็ดเตล็ดและสถิติในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาวิชา เป็นความรู้อย่างสั้น ๆ นอกจากนี้ยังหมายถึง หนังสือที่ให้คำแนะนำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างสั้น ๆ เพื่อใช้เป็นคู่มือศึกษา หรือ คู่มือการปฏิบัติงาน แสดงกฎเกณฑ์ การดำเนินงาน หรือ ขั้นตอนการทำงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หนังสือคู่มือทั่วไป เป็นความรู้อย่างสั้น ๆ เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความรู้เกี่ยวกับสถิติที่สุดของโลก เช่น Guinness Book of Records ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแรกที่เกิดขึ้น เช่น สิ่งแรกในเมืองไทย เป็นต้น
2. หนังสือคู่มือเฉพาะวิชา จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องช่วยหาวิชาความรู้ที่ต้องการอย่างรีบด่วน เช่น คู่มือการใช้ยา คู่มือวิศวกร Handbook of Business Problem Solving เป็นต้น
ชื่อหนังสือ 👉คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี ฉบับสมบูรณ์
ผู้เขียน 👉อรพิน ประวัติบริสุทธิ์
พิมพ์ครั้งที่ 1 👉 มิถุนายน 2559
5. สิ่งพิมพ์รัฐบาล(Government Publications)
สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publications) เป็นเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่หน่วยงานของรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบทั้งการจัดพิมพ์และค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานของทางราชการ อาจแสดงถึงผลงานที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว ความก้าวหน้าของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายหรือแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานต่างๆ และผู้ที่สนใจ
ชื่อหนังสือ 👉หนังสือรายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2563 ชื่อผู้แต่ง 👉กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักพิมพ์ 👉กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 25636. ดรรชนีวารสาร (Periodical Index) เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาบทความในวารสารต่าง ๆ ที่เราต้องการค้นได้โดยสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเปิดหาบทความที่เราต้องการจากตัววารสารจริง ๆ แม้ไม่ทราบชื่อ ผู้แต่ง หรือชื่อบทความก็สามารถค้นหาบทความที่ต้องการได้ ด้วยการค้นจาก หัวเรื่องที่เราต้องการ เพราะในดรรชนีวารสารจะบอกให้ทราบถึงหัวเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี และเลขหน้าที่ตีพิมพ์บทความนั้น ๆ ลักษณะบัตรดรรชนีวารสาร เป็นบัตรแข็งขนาด 3 x 5 นิ้ว
ชื่อหนังสือ 👉ดัชนีวารสารกฏหมาย
ชื่อผู้แต่ง 👉คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. บรรณานุกรม (bibliography)
บรรณานุกรม หมายถึง ข้อความที่ประกอบ หรือระบุหรือไว้ในส่วนท้าย หรือแนบท้ายหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อแสดงหลักฐาน ความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้อ่านรายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ชื่อหนังสือ 👉เรียงร้อยบรรณรัตน์ บรรณานุกรมและดรรชนีพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ชื่อผู้แต่ง 👉รศ. จุมพจน์ วนิชกุลสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ 👉สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น